สำหรับใครที่ดู Captain America: Civil War แล้ว คงได้เห็นวิธีการสะกดให้ วินเทอร์ โซลด์เยอร์ ทำตามคำสั่งของตน โดยการท่องคาถาภาษารัสเซีย ซึ่งเว็บไซต์ Bustle และ Cinemablend ก็ได้ตีความถอดรหัสชุดดังกล่าวเอาไว้ ดังนี้
หมายเหตุ: เนื้อหานี้เป็นแค่การตีความส่วนบุคคลจากเว็บไซต์ Bustle และ Cinemablend ทำให้อาจมีเนื้อหาบางส่วนผิดกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของภาพยนตร์
ปรารถนา
คำว่า ‘ปรารถนา’ ในที่นี้อาจหมายถึงความต้องการที่แท้จริงของ บัคกี้ บาร์น เขาเป็นคนหลงยุคเช่นเดียวกับ กัปตันอเมริกา แต่สถานการณ์ของเขาเลวร้ายยิ่งกว่า เนื่องจากบัคกี้ต้องอยู่ร่วมกันกับ ไฮดร้า ศัตรูของเขา แถมยังถูกบังคับให้ทำภารกิจต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการ ทำให้บัคกี้ปรารถนาจะย้อนกลับไปในที่ที่เขาอยู่ ก่อนจะถูกจับมาดัดแปลงเป็น วินเทอร์ โซลด์เยอร์
สนิมเขรอะ
สนิมเขรอะ หมายถึงการสูญเปล่า ซึ่งตีความได้ว่านั่นคือสิ่งที่ บัคกี้ บาร์น ต้องเจอ หากไม่ได้ถูก ไฮดร้า ช่วยชีวิตและมอบแขนเหล็กให้กับเขา
เตาหลอม
อย่างที่เราได้รู้กันดีว่า เตาหลอม คือวัตถุที่ให้ความร้อน หรือละลายสิ่งต่าง ๆ ซึ่งอาจหมายถึงที่ที่ใช้ปลุก บัคกี้ ให้ตื่นขึ้นจากการหลับไหล
รุ่งสาง
ในเชิงสัญลักษณ์แล้ว รุ่งสาง หรือ ตอนเช้า นั่นหมายถึงชีวิตใหม่ที่พึ่งเริ่มต้น เช่นเดียวกับชีวิตของบัคกี้ที่เขาเคยผ่านความตายมาแล้ว แต่ไฮดร้าก็ได้ให้ชีวิตใหม่แก่เขาในฐานะ วินเทอร์ โซลด์เยอร์
สิบเจ็ด
ในคาถานี้มีตัวเลขอยู่ทั้งหมดด้วยกันสามชุดซึ่งหนึ่งในนั่นคือเลข 17 ซึ่งทาง Bustle และ Cinemablend ก็เห็นร่วมกันว่าตัวเลขนี้อาจหมายถึงปีที่ บัคกี้ บาร์น เกิดนั่นคือ 1917
เนื้องอก
ภาษาที่ใช้ปลุก วินเทอร์ โซลด์เยอร์ เป็นภาษารัสเซียซึ่งคำนี้สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Benign ซึ่งมี 2 ความหมายได้แก่ (1) ใจดี และ (2) เนื้องอกที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งในโรงหนังบ้านเราเลือกใช้ความหมายที่ 2 คือ ‘เนื้องอก’ ส่วนทางเว็บไซต์ Cinemablend ได้ตีความคำว่า Benign ว่าหมายถึง ความใจดี อ่อนโยน ไม่เป็นภัยอันตราย ซึ่งเป็นลักษณะที่นักฆ่าอย่าง วินเทอร์ โซลด์เยอร์ ไม่ควรมี ดังนั่นมันอาจเป็นคำที่ใช้รีเซ็ตหรือล้างความรู้สึกของบัคกี้ก่อนที่เขาจะกลายเป็นวินเทอร์ โซลด์เยอร์
เก้า
ตัวเลขชุดที่สองในคาถานี้ซึ่งอาจตีความได้หลายความหมาย ความหมายหลายนั่นคือจำนวนหัวของไฮดร้าที่ตามปกรณัมไฮดร้านั่นมีจำนวนหัวทั้งหมด 9 หัวด้วยกัน นอกจากนี้ทางเว็บไซต์ Bustle ยังระบุด้วยว่าตัวอักษรภาษาอังกฤษของ อาร์มิน โซล่า (Armin Zola) ก็มีทั้งหมด 9 ตัวด้วยกัน (หรืออาจเป็นเรื่องบังเอิญ) ซึ่งเขาก็ขึ้นมาเป็นผู้นำไฮดร้าโดยพฤตินัยหลังจากการหายไปของ เรด สกัล ส่วนอีกความหมายถึงที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดจะเก็บไว้บอกในตัวเลขชุดต่อไป
คืนสู่เหย้า
เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจตีความว่าคำนี้ไปตรงกับ Spider Man ภาคใหม่ที่จะใช้ชื่อว่า Homecoming (คืนสู่เหย้า) แบบเป๊ะ ๆ พอดิบพอดี แต่ Cinemablend ได้ตีความไว้อีกอย่างหนึ่งว่าอาจหมายถึงการกลับมาบ้านของตัวเขาเอง
หนึ่ง
ตัวเลขชุดสุดท้ายในคาถานี้ ซึ่งถ้านำตัวเลขทั้งสามขุด (17, 9, 1) มาจัดเรียงกันใหม่จะได้เป็นปี ค.ศ. ที่ บัคกี้ บาร์น เกิดพอดี (1917) แต่อย่างไรก็ตามทาง Bustle ก็คิดว่าอาจหมายถึงการที่ บัคกี้ บาร์น เข้าร่วมโครงการวินเทอร์ โซลด์เยอร์คนแรกก็เป็นได้
รถส่งของ
ย้อนกลับไปในภาค The First Avenger ภาพสุดท้ายที่เราเห็น บัคกี้ บาร์น มีชีวิตคือตอนที่เขาเกาะตู้ส่งของบนรถไฟก่อนจะตกลงไปที่ภูเขาน้ำแข็ง และได้รับการช่วยเหลือดัดแปลงเป็น วินเทอร์ โซลด์เยอร์ ในภาคต่อมา ซึ่งคำนี้คงมีผลกับสภาพจิตใจของบัคกี้ไม่มากก็น้อย
รูปของ Freight Car หรือที่ไทยใช้คำว่า รถส่งของ นั่นเอง
สมัครแพ็คเกจ MONOMAXXX 3 เดือน แถมฟรี! ตั๋วหนังเครือ SF พร้อมสิทธิ์ลุ้นรับแอ็คชั่นฟิกเกอร์จาก Masked Rider OOO รายละเอียด คลิก